/*! elementor – v3.5.6 – 17-03-2022 */
.elementor-widget-image{text-align:center}.elementor-widget-image a{display:inline-block}.elementor-widget-image a img[src$=”.svg”]{width:48px}.elementor-widget-image img{vertical-align:middle;display:inline-block}
/*! elementor – v3.5.6 – 17-03-2022 */
.elementor-heading-title{padding:0;margin:0;line-height:1}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title[class*=elementor-size-]>a{color:inherit;font-size:inherit;line-height:inherit}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-small{font-size:15px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-medium{font-size:19px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-large{font-size:29px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-xl{font-size:39px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-xxl{font-size:59px}
รู้จักกับพื้น Safety Surface ติดตั้งอย่างไรให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก
ในการออกแบบก่อสร้างสนามเด็กเล่นให้ปลอดภัยนั้น ไม่เพียงแต่จะต้องพิจารณาถึงคุณภาพและความเหมาะสมของเครื่องเล่น แต่ยังต้องพิจารณาถึงพื้นบริเวณอุปกรณ์เครื่องเล่นด้วยว่าสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุหรือป้องกันการบาดเจ็บได้มากน้อยเพียงใด โดยเรามักเรียกบริเวณพื้นเหล่านี้ว่า Safety Surface
วัสดุปูพื้น Safety Surfaces ที่มักใช้ในงานก่อสร้างสนามเด็กเล่นคือ พื้นยาง EPDM หลากสี และพื้นยาง SBR สีดำรองอยู่ด้านใต้วัสดุ EPDM ด้วยคุณสมบัติที่สามารถดูดซับแรงกระแทกได้ดี ป้องกันการลื่น ลดการบาดเจ็บหรือความรุนแรงจากการกระแทกศรีษะ หากเกิดการตกจากที่สูงหรือตกจากเครื่องเล่นต่าง ๆ โดยพื้นยาง EPDM นั้น มีสีให้เลือกหลากหลาย สามารถออกแบบลวดลายบนพื้นได้ จึงถือเป็นตัวเลือกที่ผู้ผลิตมักจะนำมาใช้บ่อย ๆ ในงานออกแบบและก่อสร้างสนามเด็กเล่นกลางแจ้ง สนามกีฬากลางแจ้ง หรือพื้นที่ที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นพิเศษ
โดยการปูพื้นยาง EPDM (Ethylene Propylene Diene Monomer) จะถูกปูเป็นผิวชั้นบนเพื่อสร้างความสวยงามหรือลวดลายตามการออกแบบ และมียางสีดำ SBR (Styrene Butadiene Rubber) ที่ช่วยดูดซับแรงกระแทกอยู่ด้านล่าง ซึ่งการติดตั้งพื้น Safety Surfaces จำเป็นต้องมีการคำนวนความหนาในการปูให้สัมพันธ์กับความสูงของเครื่องเล่นตามระยะตก CFH (Critical Fall Height) โดยหากเครื่องเล่นมีระยะตกที่สูง ก็ยิ่งต้องปูพื้น Safety Surface ให้หนาตาม เพื่อให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อลดการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้จากการกระโดด หรือตกลงมาจากเครื่องเล่น
ยกตัวอย่าง เช่น หากเราต้องการติดตั้งพื้น Safety Surface บริเวณใต้เครื่องเล่นที่มีระยะตก CFH 2.7 เมตร ก็จำเป็นจะต้องติดตั้งพื้นให้มีความหนารวม 100 มิลลิเมตร ประกอบด้วยพื้น EPDM หนา 10 มิลลิเมตร และพื้น SBR หนา 90 มิลลิเมตร เพื่อรองรับการตกจากที่สูงที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการใช้งานเครื่องเล่น
หากสนใจที่จะติดตั้งพื้นสนามเด็กเล่น Safety Surface ทาง Leka Studio มีทีมสถาปนิกและทีมช่างที่มีประสบการณ์ด้านสนามเด็กเล่นโดยตรง เรายินดีให้บริการออกแบบก่อสร้าง พื้นสนามเด็กเล่น ปูพื้นสนามเด็กเล่น Safety Surface พื้น EPDM โดยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ทุกช่วงเวลาทำการ
Leave a Reply